วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

การสรรหาครูระบบใหม่

มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มี
องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐและระดับเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นข้าราชการ ในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูโดยยึดหลักการ
กระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
การสรรหาครูเป็นภารกิจที่สำคัญอันดับแรกของการบริหารงานบุคคลของ
ข้าราชการครู ก.ค. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู จึงได้มี
การศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินการสรรหาครูในอดีตจนถึงปัจจุบันจากเอกสารและ
งานวิจัย เพื่อปฏิรูประบบการสรรหาให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกัน ทั้งระบบการผลิตครู
ระบบการพัฒนาครู และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ตามแนวปฏิรูปครูและบุคลากร
ทางการศึกษาในอนาคต โดยมี วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และแนวดำเนินการปฏิรูประบบ
สรรหาครู ดังนี้
1. วิสัยทัศน์การสรรหาครู
ปฏิรูประบบสรรหาเพื่อสรรหาครูเก่ง ครูดี มีความสามารถในการจัดการเรียน
การสอน โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียน
มีความสำคัญที่สุด และต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม
ตาม ศักยภาพ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสร้างระบบสรรหาที่จูงใจคนเก่ง คนดี เข้าสู่วิชาชีพครู
2.2 เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น
3. แนวดำเนินการปฏิรูประบบสรรหาครู
3.1 กำหนดนโยบายและระบบการสรรหาครูให้สอดคล้องกับพระราช
บัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่ประกาศใช้แล้ว และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
ที่จะประกาศใช้ต่อไป
3.2 ปฏิรูประบบการสรรหาครูรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากการสรรหาครูรูป
แบบเดิม โดยจะพัฒนาเกณฑ์และเครื่องมือประเมินเกณฑ์ให้มีคุณภาพและมีจุดเด่น
ดังนี้
1) เกณฑ์ในการสรรหาครู จะต้องสะท้อนคุณภาพครูตามมาตรฐานวิชาชีพ
และระดับคุณภาพครู
2) เกณฑ์ในการสรรหาครู จะต้องมีความสอดคล้องและเขื่อมโยงกับระบบ
ผลิตครู ระบบพัฒนาครู และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
3) เครื่องมือในการประเมินเกณฑ์การสรรหาต้องมีคุณภาพสามารถวัด
คนเก่ง คนดี มาเป็นครูตามเกณฑ์ที่กำหนดได้จริง
4) การสรรหาต้องมีเกณฑ์กลางที่มีความยืดหยุ่น และจูงใจให้คนเก่ง
คนดีมาเป็นครูรุ่นใหม่
5) การสรรหาครูต้องกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
สรรหาครูได้ตามความต้องการของผู้ใช้ โดย ก.ค. เป็นผู้วางระบบหลักเกณฑ์
และวิธีการสรรหา รวมทั้งระบบการติดตามประเมินผล
6) วิธีการสรรหาครูจะต้องมีหลายวิธี ทั้งวิธีการสรรหาจากบุคคลทั่วไป
และการสรรหาลักษณะพิเศษ เช่น การสรรหานักเรียนทุนมาเป็นครู และพนักงาน
ของรัฐ
7) การเข้าสู่วิชาชีพครูจะต้องให้มีการทดลองปฏิบัติการสอน เป็นระยะ
เวลา 2 ปี และเมื่อการประเมินตามหลักเกณฑ์แล้ว จึงจะบรรจุเป็นครูหรือพนักงาน
ของรัฐ
8) ให้มีระบบกำกับติดตามและประเมินผลการสรรหาครูอย่างเป็นระบบ
ครบวงจร